เมนู

ย่อมมีความพยายามผิด ผู้มีความพยายามผิด ย่อมมีความระลึกผิด ผู้มี
ความระลึกผิด ย่อมมีความตั้งใจผิด ผู้มีความตั้งใจผิด ย่อมมีความรู้ผิด
ผู้มีความรู้ผิด ย่อมมีความหลุดพ้นผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย
มิจฉัตตะอย่างนี้แล จึงมีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุ
สวรรค์และมรรคผล
จบมิจฉัตตสูตรที่ 3

อรรถกถามิจฉัตตสูตรที่ 3


มิจฉัตตสูตรที่ 3

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า วิราธนา โหติ ความว่า พลาดจากสวรรค์และมรรค ย่อมมี.
บทว่า โน อาราธนา ความว่า ความสำเร็จผลก็ไม่มี ความทำให้
บริบูรณ์ ก็ไม่มี. บทว่า ปโหติ แปลว่า ย่อมเป็นไป.
จบอรรถกถามิจฉัตตสูตรที่ 3

4. สัมมัตตสูตร


ว่าด้วยภิกษุอาศัยสัมมัตตะ 10 จึงบรรลุสวรรค์และมรรคผล


>
[104] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย สัมมัตตะ จึงมีการ
บรรลุสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล เพราะ
อาศัยสัมมัตตะอย่างไร จึงมีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการพลาด
จากสวรรค์และมรรคผล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นชอบ
ย่อมมีการงานชอบ ผู้มีการงานชอบ ย่อมมีการเลี้ยงชีพชอบ ผู้มีการ

เลี้ยงชีพชอบ ย่อมมีความพยายามชอบ ผู้มีความพยายามชอบ ย่อมมีความ
ระลึกชอบ ผู้มีความระลึกชอบ ย่อมมีความตั้งใจชอบ ผู้มีความตั้งใจชอบ
ย่อมมีความรู้ชอบ ผู้มีความรู้ชอบ ย่อมมีความหลุดพ้นชอบ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะอาศัยสัมมัตตะ จึงมีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล ไม่มี
การพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ด้วยประการอย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุริสบุคคลผู้มีความเห็นผิด มีความดำริผิด
มีวาจาผิด มีการงานผิด มีการเลี้ยงชีพผิด มีความพยายามผิด มีความ
ระลึกผิด มีความตั้งใจผิด มีความรู้ผิด มีความหลุดพ้นผิด สมาทาน
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามความเห็นอย่างไรแล้ว
เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารเหล่าใด ธรรมเหล่านั้น
ทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ
ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเป็นทิฏฐิอันชั่วช้า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพืชสะเดา พืชบวบขม หรือพืช
น้ำเต้าชม อันบุคคลเพาะแล้วในแผ่นดินที่ชุ่มชื้น ย่อมเข้าไปจับรสดิน
และรสน้ำอันใด รสดินและรสน้ำทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็น
รสขม เป็นรสเผ็ดร้อน เป็นรสไม่น่ายินดี ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะ
พืชเป็นของไม่ดี แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุริสบุคคลผู้มีความ
เห็นผิด มีความดำริผิด มีวาจาผิด มีการงานผิด มีการเลี้ยงชีพผิด
มีความพยายามผิด มีความระลึกผิด มีความตั้งใจผิด มีความรู้ผิด มีความ
หลุดพ้นผิด สมาทานกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริบูรณ์ตาม
ความเห็นอย่างไรแล้ว เจตนา ความปรารถนา ตามตั้งใจ และสังขาร
เหล่าใด ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา

ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร
เพราะเป็นทิฏฐิที่ชั่วช้า ฉันนั้นเหมือนกัน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุริสบุคคลผู้มีความเห็นชอบ มีความดำริชอบ
มีวาจาชอบ มีการงานชอบ มีการเลี้ยงชีพชอบ มีความพยายามชอบ
มีความระลึกชอบ มีความตั้งใจชอบ มีความรู้ชอบ มีความหลุดพ้นชอบ
สมาทานกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามความเห็นอย่างไร
แล้ว เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารเหล่าใด ธรรม
เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ความเกื้อกูลเป็นสุข ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะเป็นทิฏฐิที่เจริญ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพืชอ้อย พืชข้าวสาลี หรือพืช
องุ่น อันบุคคลเพาะลงแล้วในแผ่นดินที่ชุ่มชื้น ย่อมเข้าไปจับรสดิน
และรสน้ำอันใด รสดินและรสน้ำทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เป็นรสที่น่ายินดี เป็นรสหวาน เป็นรสอันน่าชื่นใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะพืชเป็นของดี แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุริสบุคคลผู้มีความ
เห็นชอบ มีความดำริชอบ มีวาจาชอบ มีการงานชอบ มีการเลี้ยงชีพชอบ
มีความพยายามชอบ มีความระลึกชอบ มีความตั้งใจชอบ มีความรู้ชอบ
มีความหลุดพ้นชอบ สมาทานกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริบูรณ์
ตามความเห็นอย่างไรแล้ว เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และ
สังขารเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อผลอันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ เกื้อกูล เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฏฐิ
เป็นของเจริญ ฉันนั้นเหมือนกันแล.
จบสัมมัตตสูตรที่ 4

อรรถกถาสัมมัตตสูตรที่ 4


สัมมัตตสูตรที่ 4

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ยถาทิฏฺฐิสมตฺตํ สมาทินฺนํ ได้แก่ สมาทานให้สมบูรณ์
การยึดไว้หมด ตามสมควรแก่ทิฏฐิ บทว่า เจตนา ได้แก่ เจตนาที่
บังเกิดในทวารทั้ง 3 ยึดมั่นแล้ว. บทว่า ปฏฺฐนา ได้แก่ ความปรารถนา
ที่ปรารถนาไว้อย่างนี้ว่า ขอเราพึงเป็นเห็นปานนี้. บทว่า ปณิธิ ได้แก่
การตั้งจิตว่า เราจักเป็นเทวะ หรือเทพองค์หนึ่ง. บทว่า สงฺขารา ได้
แก่ สังขารที่ประกอบพร้อมแล้ว.
จบอรรถกถาสัมมัตตสูตรที่ 4

5. อวิชชาวิชชาสูตร


ว่าด้วยอวิชชาและวิชชา


[105] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นประธานแห่งการเข้าถึง
อกุศลธรรมทั้งหลาย ความไม่ละอายบาป ความไม่กลัวบาป เป็นของ
มีมาตามอวิชชานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีอวิชชาไม่เห็นแจ้ง
ย่อมมีความเห็นผิด ผู้มีความเห็นผิด ย่อมมีความดำริผิด ผู้มีความดำริผิด
ย่อมมีวาจาผิด ผู้มีวาจาผิด ย่อมมีการงานผิด ผู้มีการงานผิด ย่อมมีการ
เลี้ยงชีพผิด ผู้มีการเลี้ยงชีพผิด ย่อมมีความพยายามผิด ผู้มีความพยายามผิด
ย่อมมีความระลึกผิด ผู้มีความระลึกผิด ย่อมมีความตั้งใจผิด ผู้มีความตั้ง
ใจผิด ย่อมมีความรู้ผิด ผู้มีความรู้ผิด ย่อมมีความหลุดพ้นผิด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิชชา เป็นประธานแห่งการเข้าถึงกุศลธรรม
ทั้งหลาย หิริและโอตตัปปะเป็นของมีมาตามวิชชานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้มีวิชชาเห็นแจ้ง ย่อมมีความเห็นชอบ ผู้มีความเห็นชอบ ย่อม